Back

การจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน

9 เมษายน 2562

การจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชน

เป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่ง ในปัจจุบัน และยังคงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่งในขณะนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นมา

ท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้มองเห็นภาพสะท้อนชุมชนท้องถิ่น ในปัจจุบันนี้ว่า ชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังอ่อนแออยู่มาก อันเนื่องมาจาก

1.การพัฒนาที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจและทุน ไม่ครอบคลุมทุกด้านของวิถีชีวิต

2.ชุมชนส่วนใหญ่ในสังคมไทย เป็นสังคมที่ขาดการพัฒนาโดยไร้เป้าหมาย ทิศทาง และคำนึงถึงภาพอนาคตระยะยาว เป็นการพัฒนาระยะสั้นๆ เพื่อกิจกรรม

3.การกำหนดเป้าหมาย หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มักมาจากคนไม่กี่คน ไม่ได้มีการถ่ายทอดหรือได้ทำให้เกิดการตระหนักร่วมของคนในชุมชน ขาดพลังที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

4.ความต้องการของชุมชน มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักเลือกตั้ง ที่มุ่งทำในลักษณะประชานิยม ทำให้ประชาชนอ่อนแอ และรอคอยการช่วยเหลือ หรือเกิดเป็นระบบสังคมอุปถัมภ์เรื่อยมา

5.หน่วยงานภายนอกหรือภาคส่วนอื่นๆ ที่จะเข้ามาหนุนเสริม ไม่สามารถจะเข้ามาเสริมช่วยให้ตรงจุดที่ชาวบ้านต้องการได้ เพราะชุมชนไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนามาก่อน

อย่างไรก็ตาม มีชุมชนและท้องถิ่นหลายพื้นที่ในประเทศไทย ที่ได้พยายามแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง โดยใช้แนวทางการพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแต่ก็ยังนับว่ามีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับส่วนใหญ่ทั้งหมด

 

มูลนิธิหัวใจอาสา

Address : 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

Tel : 02-318-3959, 085-900-0389, 087-010-0770

Email : volunteerheartf@gmail.com

Fax : 02 718 1850